วันจันทร์ที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2553

แอ้ว ยอดรัก


  ยอดรัก สลักใจ
หรือชื่อจริงว่า สิบตำรวจโท นิพนธ์ ไพรวัลย์ (6 กุมภาพันธ์ 2499 - 9 สิงหาคม 2551) เป็นนักร้องเพลงลูกทุ่งชื่อดังคนหนึ่งในเมืองไทย มีผลงานที่สร้างชื่อหลากหลายเพลง อย่างเพลงที่รู้จักกันดี ได่แก่ " 30 ยังแจ๋ว "
ยอดรัก สลักใจ มีชื่อเล่นว่า แอ๊ว เกิดเมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2499 ที่ ตำบลงิ้วราย อำเภอตะพานหิน จังหวัดพิจิตร เป็นบุตรนายบุญธรรม และ นางบ่าย ไพรวัลย์ มีพี่น้อง 8 คน ชาย 7 คน หญิง 1 คน โดยยอดรักเป็นคนสุดท้อง จบการศึกษา ชั้น ประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบ้านหาดแตงโม อำเภอตะพานหิน จังหวัดพิจิตร เนื่องจากทางบ้านไม่มีเงินส่งเสียค่าเล่าเรียน[1] บิดาเสียชีวิตตั้งแต่อายุ 7 ขวบ มารดายากจนและมีพี่น้องหลายคน ได้ออกเร่ร่อนร้องเพลงที่บาร์รำวง ได้เงินคืนละ 5 - 10 บาท (ประมาณ 35-70 บาทในปัจจุบัน) ได้เงินมาก็หาซื้อหนังสือมาอ่านเอง และเรียนด้วยตนเอง จนกระทั่งได้เรียนที่โรงเรียนถาวรวิทยา อำเภอเมืองศรีสะเกษ จังหวัดศรีสะเกษ โดยเรียนการศึกษาผู้ใหญ่ และสอบเทียบจนจบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3









ยอดรัก สลักใจ ได้มีโอกาสเข้าเรียนที่โรงเรียนพลตำรวจบางเขน เมื่อวันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2534 และศึกษาต่อจนกระทั่งปี พ.ศ. 2537 ได้รับปริญญาครุศาสตรบัณฑิตกิตติมศักดิ์ (ศศ.บ.) สาขาศิลปศาสตร์ สายดนตรีและศิลปะ การแสดง วิทยาลัยครูธนบุรี[2]






พ.ศ. 2550 ยอดรักถูกตรวจพบว่าเป็นโรคมะเร็งตับระยะแรก[3] และในวันที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2551 เวลา 01.05 น.[4][5][6] ยอดรัก สลักใจ เสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งตับที่ โรงพยาบาลพระรามเก้า กรุงเทพมหานคร หลังจากระบุว่าจะไม่ยอมรับการรักษาใดๆ อีก และไม่ต้องทำการช่วยชีวิตแม้อาการจะทรุดหนักก็ตาม โดยพิธีศพของยอดรักได้จัดขึ้นไว้ ณ ที่วัดไร่ขิง จังหวัดนครปฐม และพระราชทานเพลิงศพ ที่วัดหาดแตงโม อำเภอตะพานหิน จังหวัดพิจิตร


วงการเพลง



เมื่อยอดรักยังเด็ก เขาไปสมัครร้องเพลงกับคณะรำวง “เกตุน้อยวัฒนา” ซึ่งได้เงินมาครั้งละ 5-10 บาท และต่อมามีโอกาสไปร้องเพลงในห้องอาหารที่ อำเภอตาคลี จังหวัดนครสวรรค์ โดยได้ใช้เพลงของไพรวัลย์ ลูกเพชร, ชาย เมืองสิงห์, สุรพล สมบัติเจริญ, ไวพจน์ เพชรสุพรรณ เป็นต้น จนกระทั่งวันหนึ่ง เด็ดดวง ดอกรัก นักจัดรายการของสถานีวิทยุ ท.อ.04 ตาคลี ได้มาฟังเพลงที่ห้องอาหาร และประทับใจยอดรักที่ร้องเพลง ' ใต้เงาโศก ' ของ ' ไพรวัลย์ ลูกเพชร ' จึงได้มาชักชวนเข้าสู่วงการ โดยนำมาฝากกับ อาจารย์ ชลธี ธารทอง ยอดรักก็ได้อยู่เลี้ยงลูกให้อาจารย์ชลธีเกือบหนึ่งปี และตั้งชื่อให้ว่า “ ยอดรัก ลูกพิจิตร ” และได้บันทึกแผ่นเสียง 3 เพลงคือ สงกรานต์บ้านทุ่ง, น้ำสังข์ น้ำตา และ เต่ามองดวงจันทร์






[แก้] ผลงานเพลง


ดูเพิ่มที่ รายชื่ออัลบั้มเพลงที่ขับร้องโดยยอดรัก สลักใจ


เพลงที่ทำชื่อเสียงให้ชุดแรก มี จ.ม.จากแนวหน้า น้ำสังข์หลั่งน้ำตาริน ห่มธงนอนตาย ทหารเรือมาแล้ว หลังจากนั้นมี ผลงานเพลงที่ขับร้องเอง อีกเกือบ 4000 เพลง งานเพลงชุดสุดท้ายก่อนเสียชีวิตคือ มะเร็งไม่มายิง ออกโดยค่าย ​เอส เอส มิวสิค เอ็นเตอร์เทนเมนท์ ซึ่ง ยอดรัก สลักใจ ได้รับค่าตอบแทน เป็นเงิน 570,000 บาท (ห้าแสนเจ็ดหมื่นบาท) และเพลงสุดท้ายที่ยอดรักขับร้อง คือ เพลง " ยอดรัก " ซึ่ง บอย โกสิยพงษ์ เป็นผู้แต่งเนื้อร้องและทำนอง








ผลงานเพลงที่ ยอดรัก สลักใจ บันทึกเสียงถึง 9 ครั้ง และมีศิลปินเพลงรายอื่นนำไปขับร้องอีกเป็นจำนวนมากคือเพลง สามสิบยังแจ๋ว










เพลง สามสิบยังแจ๋ว ที่ขับร้องโดย ยอดรัก สลักใจ






ครั้งแรก ในชุด 30 ยังแจ๋ว ค่ายอโซน่า


ครั้งที่ 2 ในชุด ลูกทุ่งทองแท้ ชุดที่ 1 ค่ายนิธิทัศน์


ครั้งที่ 3 ในชุด อำลาอาลัย 15 ปียอดรัก ค่ายอามีโก้


ครั้งที่ 4 ใน ชุด ลวดลายยอดรัก ค่ายโรต้า


ครั้งที่ 5 ในชุด ท็อปฮิตลูกทุ่งมาตรฐาน ชุดที่ 6 ค่าย อาร์เอสโปรโมชั่น


ครั้งที่ 6 ในชุด เบรกไม่อยู่ชุดที่ 1 ค่าย PGM


ครั้งที่ 7 ในชุด คณะบุญหลายมันส์หยุดโลก ชุด ที่ 1 ค่าย มาสเตอร์เทป


ครั้งที่ 8 ในชุด ต้นฉบับเพลงทอง ค่ายโรสวีดีโอ (ปัจจุบันคือ โรสมีเดีย)


ครั้งที่ 9 ในชุด ยอดรักยอดฮิต ค่ายกรุงไทย


[แก้] ผลงานอื่น


[แก้] ภาพยนตร์


[2550] อีส้มสมหวัง ..... ยอดรัก สลักใจ


[2545] มนต์เพลงลูกทุ่งเอฟเอ็ม ..... โจรพันหน้า


[2541] เสือ โจรพันธุ์เสือ ..... หมอ


[2533] สงครามเพลงแผน 2 (คู่กับ สุนารี ราชสีมา)


[2532] อ้อนรักแฟนเพลง (คู่กับ ศิรินทรา นิยากร)


[2531] อยู่กับยาย (คู่กับ ศิรินทรา นิยากร)


[2530] เพลงรัก เพลงปืน (คู่กับ พุ่มพวง ดวงจันทร์)


[2528] นักร้องพ่อลูกอ่อน (คู่กับ จารุณี สุขสวัสดิ์)


[2527] เสน่ห์นักร้อง (คู่กับ สายัณห์ สัญญา)


[2527] ทหารเกณฑ์เจอผี


[2527] ไอ้หนุ่มรถอีแต๋น (คู่กับ ปิยะมาศ โมนยะกุล)


[2527] อีแต๋น ไอเลิฟยู (คู่กับ พุ่มพวง ดวงจันทร์)


[2527] สาลิกาลิ้นทอง (คู่กับ อภิรดี ภวภูตานนท์)


[2527] สาวนาสั่งแฟน (คู่กับ พุ่มพวง ดวงจันทร์)


[2526] สงครามเพลง (คู่กับ พุ่มพวง ดวงจันทร์)


[2522] เรือเพลง (คู่กับ วาสนา สิทธิเวช)


[แก้] ละครโทรทัศน์


[2545] มนต์รักแม่น้ำมูล ..... ยอดรัก


[2544] อะเมซซิ่งโคกเจริญ ..... อาจารย์เอ๋อ


[2541] สุรพลคนจริง ..... ปรีชา


[2541] สวรรค์บ้านทุ่ง ..... แสง


[2538] มนต์รักลูกทุ่ง ..... บุญเย็น


[2533] ล่องเรือหารัก (คู่กับ ปภัสรา ชุตานุพงศ์ )


[แก้] รางวัลเกียรติยศ


พ.ศ. 2520 ได้รับรางวัลพระราชทานเสาอากาศทองคำ ประเภทนักร้องยอดเยี่ยมในเพลง ทหารเรือมาแล้ว


พ.ศ. 2522 ได้รับรางวัลพระราชทานแผ่นเสียงทองคำ ประเภทนักร้องยอดนิยมลูกทุ่งชาย จากสมาคมดนตรีแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (28 ธันวาคม 2533)


พ.ศ. 2523 ได้รับรางวัลพระราชทานแผ่นเสียงทองคำ เพลง กำนันกำใน จากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ในฐานะที่เป็นผู้มีความสามารถใช้ภาษาไทยได้ถูกต้อง ไพเราะ เป็นไปในเชิงสร้างสรรค์ เป็นตัวอย่างอันดีแก่เยาวชน


พ.ศ. 2523-2524 ได้รับรางวัลทีวีตุ๊กตาทองมหาชน โดยคะแนนเสียงจากประชาชนทั่วประเทศ 2 ปีซ้อน ซึ่งจัดโดยหนังสือพิมพ์บ้านเมือง


พ.ศ. 2532 ได้รับรางวัลพระราชทานเพลงดีเด่น จากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาสยามบรมราชกุมารี เนื่องในการจัดงานกึ่งศตวรรษเพลงลูกทุ่งไทย ในเพลง จักรยานคนจน


พ.ศ. 2533 ได้รับเกียรติให้ร้องเพลงชนะเลิศจากการประกวดวันแม่แห่งชาติ และเป็นเกียรติสูงสุดที่ได้ร้องถวายในวันครบรอบ 90 พรรษา สมเด็จย่า ในเพลง สมเด็จย่า


พ.ศ. 2534 ได้รับรางวัลพระราชทานเพลงดีเด่น เนื่องในการจัดงานกึ่งศตวรรษเพลงลูกทุ่งไทย ภาค 2 ในเพลง ทหารใหม่ไปกอง


พ.ศ. 2551 ได้รับรางวัล "ปริยศิลปิน" จากสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ ในฐานะที่เป็นศิลปินที่เป็นที่รักของประชาชน ซึ่งถือเป็นรางวัลเกียรติยศภายหลังการเสียชีวิตแล้ว และถือเป็นศิลปินคนแรกที่ได้รับรางวัลนี้ด้วย

1 ความคิดเห็น: